วันอังคารที่ 17 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โครงร่างงานวิจัย

โครงร่างงานวิจัย


“การนิเทศแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาการทำวิจัยในชั้นเรียนของครูเครือข่ายการนิเทศของนายชลอ เอี่ยมสอาด”

2. ประวัติผู้จัดทำ

ชื่อผู้วิจัย นายชลอ เอี่ยมสอาด

ศึกษานิเทศก์สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐมเขต 2

ประสบการณ์การทำงาน นิเทศการศึกษาจำนวน 20 ปี

3. ที่ปรึกษา นายธีระพงษ์ ศรีโพธิ์ หัวหน้ากลุ่มนิเทศติดตามและประเมินผลการจัดการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครปฐม เขต 2

4. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา

จากการนิเทศการศึกษาและผลของการประเมินมาตรฐานสถานศึกษาพบว่า ครูส่วนใหญ่ยังไม่มีการทำวิจัยในชั้นเรียนส่งผลให้การเรียนรู้ของนักเรียนไม่เป็นไปตามความคาดหวังของหลักสูตร อันเนื่องมาจากการที่ครูขาดความรู้ความเข้าใจในการจัดทำวิจัยในชั้นเรียนที่เหมาะกับสภาพการจัดการเรียนรู้ของตนเอง

จากปัญหาดังกล่าวผู้วิจัยในฐานะศึกษานิเทศก์ประจำเครือข่ายการนิเทศ จึงสนใจที่จะทำวิจัยเรื่องนี้ โดยผลการวิจัยที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการเรียนรู้ของนักเรียนและเป็นข้อมูลในการวางแผนพัฒนาครูในเครือข่ายการนิเทศให้มีความรู้ความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนต่อไป

5.วัตถุประสงค์ของการวิจัย

-เพื่อแสวงหาแนวทางในการนิเทศที่ส่งเสริมให้ครูเครือข่ายการนิเทศทำวิจัยในชั้นเรียนได้

6. ขอบเขตของการศึกษา

การวิจัยในครั้งนี้ กำหนดขอบเขตการวิจัยจากครู จำนวน 10 คน ที่เข้าอบรม

7. วิธีการศึกษา

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาถึงการใช้รูปแบบการนิเทศแบบมีส่วนร่วมในการพัฒนาความสามารถในการทำวิจัยในชั้นเรียนของครู ข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยนี้ได้จากแหล่งที่มาคือ

แหล่งข้อมูลทุติยภูมิ : เอกสารที่เกี่ยวข้องที่ผู้วิจัยอื่นที่ได้ศึกษาไว้ รวมทั้งแนวคิดทฤษฎีต่างๆที่เกี่ยวข้อง โดยมุ่งเน้น หลักวิชาการ บทความ เพื่อใช้เป็นข้อมูลประกอบการวิจัย

แหล่งข้อมูลปฐมภูมิ : ใช้การนิเทศเป็นเครื่องมือ โดยให้กลุ่มตัวอย่างตอบด้วยตนเอง

8. ข้อตกลงเบื้องต้น

-ไม่มี

9. นิยามศัพท์

การนิเทศแบบมีส่วนร่วม หมายถึง กระบวนการ แนะนำ ช่วยเหลือ กระตุ้น ยั่วยุ เพื่อให้เกิดกระบวนการทำงานร่วมกันระหว่างผู้นิเทศกับผู้รับการนิเทศเริ่มตั้งแต่การศึกษาข้อมูล สภาพปัจจุบันปัญหา การพิจารณาตัดสินใจ การร่วมปฏิบัติการร่วมรับผิดชอบในเรื่องต่างๆ รวมทั้งการทุ่มเทความพยายามทั้งมวลเพื่อให้งานบรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมายที่ทุกคนร่วมกันกำหนดขึ้น

การวิจัยในชั้นเรียน หมายถึง กระบวนการที่จะช่วยให้ครูผู้สอนสามารถพัฒนาระบบการจัดการเรียนรู้ของตนให้มีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้เรียน ทำให้กระบวนการจัดการเรียนรู้ของครู มีความเป็นวิชาชีพและมีความเป็นศาสตร์ในวิธีวิทยาของการจัดการเรียนรู้

10. สมมติฐาน

- การนิเทศแบบมีส่วนร่วมมีอิทธิพลต่อการเรียนรู้ด้วยตนเองของครู

11. ประโยชน์คาดว่าจะได้รับ

- ทำให้ได้ทราบถึงรูปแบบที่เหมาะสมในการพัฒนาครูให้สามารถทำวิจัยในชั้นเรียนได้

- เพื่อนำผลการศึกษามาเป็นแนวทางในการปรับปรุง และพัฒนา การนิเทศของศึกษานิเทศก์

- เป็นข้อมูลให้ผู้บริหารใช้เป็นประโยชน์ในการวางนโยบาย กำหนดทิศทางการพัฒนาบุคลากรให้ถูกต้องมากขึ้น

12. ระยะเวลา

ระยะเวลาทำการวิจัยตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2553 ถึง 30 กันยายน2553 เวลาทั้งสิ้น 90 วัน

13. แนวคิด ทฤษฏี

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการนิเทศการศึกษา

แนวคิดทฤษฎีเกี่ยวกับการวิจัยในชั้นเรียน

14 ประเภทของการวิจัย

14.1ประเภทของการวิจัย : การวิจัยเชิงปฏิบัติการ

14.2 ประชากร : ศึกษาผู้ที่มาเข้ารับการอบรม

กลุ่มตัวอย่าง : กำหนดขนาดตัวอย่างในการทำวิจัยครั้งนี้10 ชุด โดยใช้วิธีการสุ่มแบบเจาะจง

ขนาดของกลุ่มตัวอย่าง กำหนดไว้ 20 ตัวอย่าง ระดับความเชื่อมั่น 95% ยอมรับความคลาดเคลื่อนในการเลือกตัวอย่าง 0.05

14.3 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย : แบบสอบถาม เพื่อสะดวกในการตอบและป้องกันความสับสนโดยเน้นคำถามแบบปิด

การกำหนดรูปแบบของคำถาม แบ่งเป็น 3 ส่วน

ส่วนที่ 1 ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ตอบ ได้แก่ เพศ อายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา

ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับความพึงพอใจของผู้เข้าอบรม (มาก/ปานกลาง/น้อย)

ส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะอื่นๆที่ผู้ใช้บริการต้องการ

14.4 วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล : ใช้วิธีนำแบบสอบถามไปให้ผู้ตอบ โดยเข้าอบรมตอบแบบเจาะจงและรอรับกลับคืน

14.5 การวิเคราะห์ข้อมูล : โดยนำแบบสอบถามที่รวบรวมได้มาดำเนินการ ดังนี้

- ตรวจสอบข้อมูล

- ตรวจความสมบูรณ์ของการตอบแบบสอบถาม

- แยกแบบสอบถามที่ไม่สมบูรณ์ออก

- นำแบบสอบถามมาลงรหัส

- นำข้อมูลที่ได้ทั้งหมดทำการบันทึกโดยเครื่องคอมพิวเตอร์

- ประมวลผลด้วยโปรแกรม SPSS

ระยะเวลาในการดำเนินการทำวิจัย วันที่ 1 มกราคม 2553 ถึงวันที่ 30 มีนาคม 2553



งบประมาณในการดำเนินการวิจัย -